หมอพลอยใส EP.1 ขมิ้นชัน (Turmeric)

445443 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หมอพลอยใส EP.1 ขมิ้นชัน (Turmeric)


 
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Click
  
 
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ช่วงสาระน่ารู้กับคุณหมอพลอยใส วันนี้พลอยได้นำสาระน่ารู้เกี่ยวกับขมิ้นชันมาฝากทุกคนกันค่ะ

  อย่างที่ทุกคนรู้กัน สำหรับขมิ้น เป็นสมุนไพรที่ทุกคนนำมาใช้ ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบัน ขมิ้นก็ถูกนำไปแปรรูป แล้วก็มีการพัฒนาเพื่อให้ง่ายต่อการรับประทาน แล้วก้อเห็นผลเร็วที่สุด

  ทำไมขมิ้นถึงสามารถรักษาโรคได้อย่างหลากหลายแล้วก็ได้รับการยอมรับอย่างมาก และขมิ้นสามารถช่วยรักษาในกลุ่มของอาการอะไรบ้าง วันนี้พลอยเองก็ได้นำสาระน่ารู้เหล่านี้ มาฝากทุกคน ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถกดสอบถามผ่านทีมงานเภสัชกรของเราได้โดยตรงเลยค่ะ


ประโยชน์ของเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน

   สาเหตุที่ ขมิ้นชัน สามารถรักษาโรค ได้อย่างหลากหลาย ก็เป็นเพราะว่าสารสำคัญในขมิ้น สามารถช่วยป้องกันโรคตั้งแต่ต้นเหตุ แถมยังอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก

  ที่สำคัญในขมิ้นเองยังมีสารสำคัญอย่าง เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ที่สามารถช่วยลดอาการอักเสบภายในร่างกายได้ ภาวะการอักเสบภายในร่างกายเป็นตัวการหลักสำคัญ ที่จะทำให้เราเกิดโรคต่างๆมากมาย เคอร์คูมินอยด์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยดูแลฟื้นฟูภายในร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี

  สาเหตุที่ขมิ้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก ก็เป็นเพราะว่าขมิ้น มีการศึกษาและงานวิจัยเป็นหมื่นงานวิจัย ทั้งในประเทศไทยเองและต่างประเทศ  และยังเป็นที่ยอมรับด้วยว่า ตัวขมิ้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงอย่างมาก



1.กระเพาะอาหาร


  สำหรับอาการแรก คืออาการของโรคกระเพาะอาหาร สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร มีสาเหตุมาจากการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเมื่อปี 2010 ที่โรงเรียนแพทย์ที่ประเทศอินเดีย ได้ออกมาอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารว่า

 

  "โรคแผลในกระเพาะอาหารมากกว่า 50% เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเทริโคแบคเตอร์ไพโรไล ซึ่งเมื่อเราทานขมิ้นชันเข้าไป สารสำคัญอย่างเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน ก็จะเข้าไปช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียไพโลไรชนิดนี้ และก็เข้าไปช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้อาการของแผลในกระเพาะ พร้อมกับอาการของโรคกระเพาะอาหารของเรา บรรเทาอาการดีขึ้นตามลำดับ"



2.ระบบทางเดินอาหาร


  อาการต่อมาก็คืออาการของโรคทางเดินอาหาร ซึ่งข้อมูลจากสำนักข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการเขียนบทความวิจัยที่ทำการรวบรวมงานวิจัย เกี่ยวกับขมิ้นชันมาสรุปไว้ว่า

 

  "ขมิ้นชันสามารถที่จะขับลมบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย แถมยังสามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการย่อยอาหาร นอกจากนี้เคอร์คูมิน ยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกที่จะเข้า ไปกระตุ้นการหลั่งเมือกมิวซิน ให้มาเคลือบกระเพาะอาหารและช่วยยับยั้ง การหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย"



3.อาการข้อเข่าเสื่อม


  สำหรับกลุ่มอาการต่อมา ที่ขมิ้นชันสามารถที่จะช่วยบรรเทาอาการได้ นั่นก็คือกลุ่มอาการของข้อเข่าเสื่อม ในปี 2013 มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลที่ฝรั่งเศส ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโรคข้อเข่าอักเสบว่า

  "สาเหตุของการเกิดโรค ไม่ได้เกิดจากการใช้งานหนักๆเพียงอย่างเดียว แต่เป็นโรคที่สามารถเกิดจากการอักเสบในระดับเซลล์ได้อีกด้วย"

  และก็มีการทดลองในประเทศอิตาลี กับกลุ่มผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อม จำนวนห้าสิบคนพบว่า

  "กลุ่มผู้ป่วย ที่ได้รับสารสกัดขมิ้น สามารถบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อม และสามารถเดินได้ไกลมากขึ้นเป็นสองเท่า สามารถที่จะลดการใช้ยาลดอาการบวมของข้อเข่าได้ มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดขมิ้นชันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ และที่สำคัญ กลไกในการรักษาของขมิ้นชัน ก็เกิดจากการที่สารสำคัญอย่าง เคอร์คูมินนอยด์ เข้าไปช่วยลดอาการอักเสบในระดับเซลล์ได้ นั่นเอง"


4.ลดระดับน้ำตาลภายในเลือด, ลดไขมันในเลือด, เบาหวาน


  กลุ่มอาการต่อมาที่ขมิ้นชันสามารถที่จะช่วยได้คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลภายในเลือด สำหรับงานวิจัยนี้ เป็นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรด้ระบุไว้ว่า 

  "ขมิ้นชัน สามารถที่จะช่วยลดเบาหวานในผู้ป่วยได้ถึง 240 คน เลยทีเดียว"

  แต่ในงานวิจัยนี้ ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า มีกลไกจากขมิ้นที่เข้ามาช่วย เราเลยได้ทำการหาข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนของงานวิจัยของทางต่างประเทศ เพื่อช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น ในวารสารต่างประเทศ ได้เขียนอธิบายงานทดลองนี้ว่า

  "ขมิ้นชันสามารถที่จะช่วยลดเบาหวาน ผ่านกระบวนการในการที่จะเข้าไปช่วยลดไขมันในเลือด ซึ่งกรดไขมันที่อยู่ในเลือด เป็นตัวการสำคัญ ที่จะเข้าไปอุดตันในเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อของเรา ทำให้อินซูลินในร่างกายผลิตได้ ไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามธรรมชาติ จนทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินในที่สุด"

  ก่อเกิดภาวะดื้ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดของเราก็จะสูงมากขึ้น เราก็จะเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้นเมื่อเราทานขมิ้นชันเข้าไปแล้ว นอกจากจะช่วยลดไขมันในเลือดได้แล้ว ก็ยังสามารถที่จะช่วย ลดภาวะดื้ออินซูลิน และทำให้กลูโคลสเข้าไปเลี้ยงเซลล์ ทำให้เซลล์ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้นั่นเอง



5.ลดความเป็นพิษในตับ

 


  สำหรับกลุ่มอาการต่อมาสำหรับขมิ้นชัน ก็สามารถที่จะช่วยลดความเป็นพิษต่อตับให้กับเราได้อีกด้วย สำหรับกลไกที่สามารถที่จะเข้าไปช่วยลดความเป็นพิษต่อตับ ให้กับเราได้นั่นก็คือ การต้านอนุมูลอิสระ และการกระตุ้นเอนไซม์ Catalase ในร่างกายของเรา จึงสามารถที่จะเข้าไปช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกายโดยจากงานวิจัยพบว่า

  "หลังจากที่เราทานขมิ้นชัน เอนไซม์ Catalase ในร่างกายของเรา ทำงานได้ดีขึ้นถึง 75% จึงสามารถที่จะทำให้ ค่าตับของเราลดลงได้"



6.มะเร็ง


  และกลุ่มอาการต่อมาที่ขมิ้นชันสามารถช่วยได้ โรคนี่สำคัญมาก และคนไทยเป็นกันเยอะ นั้นก็คือโรคมะเร็ง สำหรับโรคมะเร็งเมื่อปี 2016 มีการรวบรวมงานวิจัย เกี่ยวกับขมิ้นชันมากกว่าหนึ่งร้อยงาน ที่มหาวิทยาลัยเวย์นสเตทมิชิแกนว่า

  "ขมิ้นชันสามารถที่จะเข้าไปยับยั้งและขัดขวาง การทำงานของเซลล์มะเร็งตั้งแต่ การแบ่งตัว การเติบโต ไปจนถึงการดื้อยา ของเชื้อมะเร็ง"

  แต่ก็ต้องอาศัยการรับประทานอย่างต่อเนื่อง และต่อการรับประทานต่อมื้อ ก็ต้องมีโดสในการรับประทานที่สูงกว่า กลุ่มอาการอื่นๆ ด้วย

ข้อควรระวัง
และสำหรับข้อควรระวังในการที่จะใช้ขมิ้นชัน ก็จะมีหลักอยู่ 2 โรค 

1.ผู้ป่วยเป็นนิ่วในถุงน้ำดีไม่ควรรับประทาน
สำหรับโรคแรก คือคนที่มีโรคประจำตัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี เพราะว่าขมิ้นชัน สามารถที่จะเข้าไปช่วยขับนิ่วที่มีอยู่ในร่างกาย ฉะนั้นคนที่เป็นนิ่วอยู่แล้ว ถ้ารับประทานเข้าไป ขมิ้นชันก็จะเข้าไปขับ ก้อนนิ่วที่มีอยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งจังหวะที่ขับก้อนนิ่วออกมา ก็จะทำให้มีอาการปวดมาก ดังนั้นจึงไม่เหมาะ ถ้าคนที่เป็นนิ่วทานขมิ้นชัน แต่จะดีมาก สำหรับคนที่ยังไม่เป็นนิ่ว และรับประทานขมิ้นไป ขมิ้นก็จะเข้าไปช่วยในการป้องกันการเกิดนิ่วให้กับร่างกายของเราได้

2.ผู้ป่วยเป็นนิ่วในถุงไตไม่ควรรับประทาน
และโรคที่สอง นั่นก็คือ โรคนิ่วในไต สำหรับในขมิ้นชันเอง นอกจากจะมีสารสำคัญอย่างเคอร์คูมินอยด์ ยังจะมีสารออกฤทธิ์สูงมากๆ ฉะนั้นคนที่เป็นนิ่วในไตไม่เหมาะมากเลยที่จะได้รับ สารออกซาเลต เข้าไปเพิ่มในร่างกาย

ฉะนั้นก็จะมีอยู่สองโรค ที่ไม่ควรที่จะรับประทานขมิ้นชัน และในการรับประทานขมิ้นชันให้เห็นผล ก็จะแนะนำให้รับประทานอยู่ที่ วันละสองแคปซูลเป็นมื้อเช้า และมื้อเย็น จะเป็นหลังอาหารทันที หรือหลังอาหารสิบห้านาทีก็ได้

ขมิ้นผงดูดซึมได้น้อยกว่าขมิ้นสกัดในน้ำมัน
  สำหรับในการรับประทานส่วนใหญ่แล้ว เราจะเจอผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันในรูปแบบของขมิ้นผง แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ขมิ้นผงเองก็ได้มีงานวิจัยจากภาควิชาเภสัชวิทยาของวิทยาลัยเซนต์จอห์นบัปที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษากับกลุ่มอาสาสมัคร

  "ให้กลุ่มอาสาสมัคร รับประทานขมิ้นชันผงเข้าไป พอผ่านไปหนึ่งชั่วโมงแล้ว ก็ทำการตรวจหาสารเคอร์คูมินอยด์ในเลือด พบว่าสารเคอร์คูมินอยด์น้อยมาก แสดงว่ามีการดูดซึมได้น้อย"

ขมิ้นผงดูดซึมได้ดีขึ้นเมื่อรับประทานคู่กับพริกไทย
  แต่เมื่อทำการให้อาสาสมัคร รับประทานขมิ้นชันผงควบคู่กับพริกไทย ปรากฏว่าสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นถูกดูดซึมได้ดีเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าเลยทีเดียว ฉะนั้นการรับประทานขมิ้นให้เห็นผล ก็แนะนำให้ลองหาพริกไทยมารับประทานควบคู่กันดู

การรับประทานพริกไทยมากอาจมีผลกับคนเป็นโรคกระเพาะ
  แต่ถ้าใครอยากจะทานขมิ้น เพื่อที่จะเข้าไปดูแลและบรรเทาอาการในกลุ่มของอาการอาการแผลในกระเพาะ หรือโรคกระเพาะอาหาร ท่าทานพริกไทยเข้าไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้มีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นลองเปลี่ยนจากกลุ่มขมิ้นผงเป็นกลุ่มขมิ้นสกัดที่อยู่ในรูปแบบ Oil (น้ำมัน) จะดีกว่า จะช่วยบรรเทาอาการได้ดีมากกว่า และไม่ทำให้อาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย



ขอบคุณที่ติดตาม
  คิดว่าทุกคนน่าจะได้สาระน่ารู้ดีไปกันเยอะเลยสำหรับใครนะคะอยากจะให้เรามาแนะนำหรือนำความรู้ดีๆเรื่องไหนมาบอกกล่าวกันก็สามารถที่จะคอมเม้นใต้วีดีโอนี้ไว้ได้เลยนะคะ หรือสามารถปรึกษาสอบถามเพิ่มเติมด้วยเหมือนกันสำหรับวันนี้ขอบคุณมากเลยนะค่ะสวัสดีค่ะ


 

  ในผลิตภัณฑ์สารสกัดจากขมิ้น ผสมน้ำมันรำข้าว ของ THP ในหนึ่งกล่องประกอบไปด้วย

สารสกัดจากขมิ้น
52.63  
มก. (curcumin> 95.0%)
น้ำมันรำข้าว
100
มก.
แกมมาโอริซานอล (100%)   
50
มก.

บทความอ้างอิง

  1. สาระน่ารู้ หมอพลอยใส EP.1 ขมิ้นชัน Turmeric กรดไหลย้อน แผลในกระเพาะ -Full - Youtube channel: THP Herbal 
  2. Investigation of the anti-inflammatory effect of Curcuma longa in Helicobacter pylori-infected patients - PubMed (nih.gov) 
  3. ขมิ้นชัน...ขุนพลผู้พิชิตโรคในระบบทางเดินอาหารกนกพร อะทะวงษา สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. Osteoarthritis as an inflammatory disease (osteoarthritis is not osteoarthrosis!)F.Berenbaum
  5. Efficacy and safety of Meriva(R), a curcumin-phosphatidylcholine complex, during extended administration in osteoarthritis patientsGianni Belcaro
  6. Curcumin Extract for Prevention of Type 2 Diabetes - 1  Somlak Chuengsamarn, MD,2 Suthee Rattanamongkolgul, MD,3 Rataya Luechapudiporn, PHD,4 Chada Phisalaphong, PHD,5 and Siwanon Jirawatnotai, PHD
  7. Curcuminoids exert glucose-lowering effect in type 2 diabetes by decreasing serum free fatty acids: a double-blind, placebo-controlled trial - Li-Xin Na 1, Ying Li, Hong-Zhi Pan, Xian-Li Zhou, Dian-Jun Sun, Man Meng, Xiao-Xia Li, Chang-Hao Sun
  8. Diverse effects of a low dose supplement of lipidated curcumin in healthy middle aged people - Robert A DiSilvestro, Elizabeth Joseph, Shi Zhao & Joshua Bomser 
  9. Influence of piperine on the pharmacokinetics of curcumin in animals and human volunteers -  Shoba , D Joy, T Joseph, M Majeed, R Rajendran, P S Srinivas
     


 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้