112126 จำนวนผู้เข้าชม |
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Click
สวัสดีค่ะทุกๆคนกลับมาพบกันอีกแล้วนะคะกับช่วงสาระน่ารู้กับคุณหมอพลอยใสค่ะ สำหรับวันนี้เชื่อว่าหลายๆคนน่าจะคุ้นชินกันดีกับสาระน่ารู้ที่พลอยนำมาฝากกันในวันนี้นั่นก็คือว่านหางจระเข้ค่ะ
เชื่อว่าหลายๆคนน่าจะคุ้นชินแล้วก็ได้ยินกันมาชินหูแล้ว เพราะว่าเจ้าตัวว่านหางจระเข้เองก็มีหลายๆแบรนด์หรือว่าหลายๆผู้ประกอบการมีการนำมาพัฒนามาเป็นครีมบำรุงผิว เวชสำอาง หรือเจลแต้มสิว
แต่ว่าสำหรับเจ้าตัวว่านหางจระเข้ ไม่ได้มีแค่คุณสมบัติในการสมานแผลเพียงอย่างเดียว สำหรับเจ้าตัวว่านหางจระเข้ เขาถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในทางการแพทย์แผนโบราณของหลายๆประเทศ ในเรื่องของการสมานแผล ด้วยสาเหตุนี้ ก็เลยมีการถูกนำมาวิจัย เพื่อหาข้อมูลทางการแพทย์ เข้ามารองรับในการที่จะพัฒนาเป็นตัวยา เพื่อนำมาใช้ในการรักษากลุ่มอาการต่างๆต่อไป
สำหรับว่านหางจระเข้ เขามีถิ่นกำเนิดอยู่แถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและ ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นพืชอวบน้ำที่มีพบมากกว่า 300 สายพันธุ์เลยทีเดียว (และหลายสายพันธุ์เติบโตได้ดีในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย)
ภายในเนื้อใบของว่านหางจระเข้จะเป็นเมือกเหนียวๆมีลักษณะเป็นวุ้นสีเขียวอ่อนๆ และก็จะมียาง (Latex) ที่อยู่ภายในขอบรอบนอกที่หุ้มเจลสีใส ที่เมื่อสัมผัสกับอากาศจะมีการเปลี่ยนสี จากสีใสๆเป็นสีน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้นจนเป็นสีดำ (ยางว่านหางจระเข้เป็นพิษกับผิว รับประทานเข้าไปตรงๆไม่ได้ แต่สามารถสกัดมาทำยาได้)
ตัวยางนี้ล่ะค่ะมีการค้นพบ ในตำราการแพทย์แผนไทยของประเทศไทยเราเองเลย ว่ามีการถูกนำมาทำการสตุ ให้ออกมาเป็นยาดำ เพื่อใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องของระบบขับถ่าย สำหรับว่านหางจระเข้ มีการศึกษาวิทยาศาสตร์ทางเคมีและค้นพบว่ามีสารสำคัญอยู่ภายในตัววุ้นของว่านหางจระเข้มากถึง 200 ชนิดเลยทีเดียว
รูปจาก https://www.tealtrademark.com/content/6107/
ในส่วนของการนำตัววุ้นของว่านหางจระเข้ มาทำการใช้ ก็จะต้องทำการปอกเปลือกของตัวว่านหางจระเข้ออก เพื่อให้ได้เจ้าตัววุ้นใสๆ อยู่ภายในออกมา แต่การที่จะนำมาใช้เพื่อทำการรักษาในเรื่องของการสมานแผล เราจะต้องทำความสะอาดยางออกให้ดีก่อนนะคะ เพราะว่าตัวยาง เห็นเป็นสีใสๆแบบนี้ มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อระบบผิวหนัง หรือถ้ารับประทานเข้าไปแล้วก็อาจจะทำให้มีอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารของเราได้
สำหรับวิธีที่จะนำเจ้าตัวว่านหางจระเข้มาใช้ ก็คือการที่นำวุ้นของว่านหางจระเข้ มาหั่นเป็นแผ่นบางๆ แล้วก็ปิดตามแผล ที่เป็นตามผิวหนัง ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และสาเหตุที่คนสมัยก่อน นำวุ้นของว่านหางจระเข้มาใช้ในการสมานแผล ก็เนื่องจากว่าในตัวของวุ้นจากว่านหางจระเข้ มีสารไกลโคโปรตีน ที่มีชื่อว่า อะรอคติน เอ ที่มีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบ และช่วยสมานแผลด้วยสาเหตุนี้ ตัววุ้นของว่านหางจระเข้ จะมีฤทธิ์ในเรื่องของการรักษาแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลไฟไหม้ แผลเบาหวาน แผลร้อนในแผลในช่องปาก หรือแผลอื่นๆที่เป็นตามผิวหนัง
โดยเฉพาะในเรื่องของการสมานแผลเราจะเห็นได้ว่าเป็นที่ชัดเจนในวงกว้างมากๆเลยว่า ถูกนำมาใช้ในเรื่องของการรักษาแผลตามผิวหนังได้ จนทำให้ในช่วงของหลังๆ ทางการแพทย์เองก็มีงานวิจัย ที่เข้ามารองรับและยืนยันในเรื่องของการลดอาการอักเสบ พร้อมกับการสมานแผลของเจ้าตัวว่านหางจระเข้ได้ โดยมีการรายงานนะคะว่า ว่านหางจระเข้ สามารถที่จะช่วยลดอาการบวมของบาดแผล และก็ช่วยลดภาวะหลอดเลือดหดตัวได้ ภายใน 24-48 ชั่วโมง และหลังจากที่ใช้เจ้าตัวว่านหางจระเข้ไปได้ 3-4 วันจะมีจำนวนสารคัดหลั่งออกมาน้อย และหลังจากใช้ไปแล้ว 5-6 วัน บริเวณแผลก็จะมีการสมานตัวที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
และสำหรับคุณสมบัติต่อมาของเจ้าตัวว่านหางจระเข้ที่สามารถทำได้นั่นก็คือในเรื่องของการสมานแผลในกระเพาะอาหาร มีการศึกษาที่ภาควิชาเทคโนโลยีทางชีวภาพที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ในการสมานแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาวของว่านหางจระเข้โดยทำการทำกลุ่มเปรียบเทียบออกมาเป็น 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มที่ได้รับวุ้นว่านหางจระเข้เพียงอย่างเดียว
- กลุ่มที่ได้รับคอร์ติซอ และ
- กลุ่มที่ได้รับคอร์ติซอ ร่วมกับวุ้นว่านหางจระเข้
โดยทำการให้รับประทานทั้งหมดวันละ 2 ครั้ง โดยทำการควบคุมอยู่ที่ 7 วันพบว่า กลุ่มได้รับวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีแผลในกระเพาะอาหารเลย ส่วนกลุ่มที่ได้รับคอร์ติซอมีแผลอย่างรุนแรง และกลุ่มที่ได้รับคอร์ติซอร่วมกับวุ้นของว่านหางจระเข้มีแผลอยู่เพียงเล็กน้อย
และยังพบอีกว่า สำหรับกลุ่มที่ได้รับวุ้นว่านหางจระเข้เพียงอย่างเดียว มีเยื่อเมือกที่เพิ่มหนาขึ้นในส่วนต้นของกระเพาะอาหารดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่าวุ้นจากว่านหางจระเข้ สามารถที่จะช่วยลดการเกิดแผลโดยกระตุ้นการสร้างเมือกและช่วยลดการเกิดแผลได้อย่างมีนัยสำคัญ
และสำหรับคุณสมบัติต่อมาที่เจ้าตัวว่านหางจระเข้สามารถช่วยได้ นั่นก็คือในเรื่องของการระบายและช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ซึ่งสารสำคัญส่วนใหญ่ที่พบ เป็นสารสำคัญในกลุ่มของแอนทราควิโนนและอะโลอิน ที่ได้จากยางของเปลือกว่านหางจระเข้นั้นเอง สารสำคัญแอนทราควิโนนนี้ มีส่วนที่จะเข้าไปช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ และลดการดูดซึมกลับของน้ำ
อีกทั้งสารสำคัญ อะโลอิน ก็ยังเป็นตัวช่วยสำคัญมาก ที่จะเข้าไปช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ ซึ่งได้มีการศึกษา ที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์พันธุ์พืชที่ประเทศไนจีเรีย ได้ทำการศึกษาสารสำคัญที่ได้จากว่านหางจระเข้ที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยในเรื่องของการระบาย และบรรเทาอาการท้องผูก ในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยใช้ โลเพอราไมด์ โดยพบว่าหลังจากที่ให้ผู้ป่วยรับประทานสารสกัดจากว่านหางจระเข้ ที่ขนาด mg 200 มิลลิกรัมต่อวันเป็นไรทั้งหมด 7 วัน ทำให้ผู้ป่วยเนี่ยมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้มากขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระได้ดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้ก็ได้ทำการสรุปได้ว่าเจ้าตัวสารสกัดว่านหางจระเข้เนี่ยมีส่วนช่วยในเรื่องของการบรรเทาอาการท้องผูกได้อย่างมีนัยสำคัญ
และสำหรับคุณสมบัติข้อสุดท้ายที่เจ้าตัวสารสกัดจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายของเราได้นั่นก็คือ การที่จะเข้าไปช่วยต้านภาวะอาการซึมเศร้าได้ ซึ่งงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ประเทศอิหร่าน ได้มีการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอาการซึมเศร้าของสารสกัดจากว่านหางจระเข้ โดยการศึกษานี้ จะมีการเก็บผลการทดลองในทุกๆ 1 วัน 7 วันและ 14 วัน โดยผลการทดลอง พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดจากว่านหางจระเข้ตั้งแต่ 1 วัน 7 วันและ 14 กี่วัน มีผลตอบรับในเรื่องของการต้านภาวะซึมเศร้าได้ดีอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่กำลังจะตัดสินใจหาเจ้าตัวสารสกัดจากว่านหางจระเข้มารับประทาน ลองเลือกหาผลิตภัณฑ์ที่เขาบรรจุเป็นเม็ดรับประทานได้ง่ายๆมาลองรับประทานดูนะคะ แต่ที่แน่ๆ สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อยู่และผู้หญิงที่ให้นมบุตรยังไม่ควรรับประทาน ในทุกๆการตัดสินใจที่จะรับประทาน แนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ประจำตัว ก่อนที่จะตัดสินใจรับประทานดีกว่านะคะ
เชื่อว่าวันนี้ หลายๆคนน่าจะได้สาระน่ารู้ดีๆ เกี่ยวกับว่านหางจระเข้ไปเยอะพอสมควรเลย สำหรับวันนี้ฝากกดไลค์แพ้แล้วก็ฝากกดติดตามด้วยนะคะวันนี้ขอขอบคุณมากเลยค่ะสวัสดีค่ะ
สนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Click