2019 จำนวนผู้เข้าชม |
ร่างกายของเราในช่วงอายุ 30-35 ปี กระดูกจะถูกสร้างและสะสมสูงสุด แต่หลังจากนั้นอัตราของการสลายตัวจะมีมากกว่าการสร้าง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องทานแคลเซียมตั้งแต่อายุน้อย ดังนั้นช่วงอายุก่อนที่จะก้าวเข้าอายุ 30-35 ปี จึงเป็นเวลาที่ดี ที่เราจะทานอาหารที่อุดไปด้วยแคลเซียม เพื่อสะสมมวลกระดูก บำรุงกระดูกและฟันชะลอการสลายของกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน หรือความเสี่ยงโรคร้านต่าง ๆ หลังอายุ 35 ปี
จากการศึกษาของ The American College of Nutrition พบว่า แคลเซียม ไม่เพียงแค่ป้องกันโรคทางกระดูกให้กับเราเท่านั้น แต่สามารถช่วยป้องกัน และบรรเทาอาการจากโรคต่าง ๆ อย่าง สามารถลดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome) เช่น อาการปวดหัว หงุดหงิดง่าย อยากอาหารท้องอืด ไม่สบายท้องได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ
อายุ < 40 ปี | 800 mg / วัน |
อายุ 50 ปี | 1000 mg / วัน |
ผู้หญิงตั้งครรภ์ และอายุ > 60ปี | 1200 mg / วัน |
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขาดแคลเซียม ได้แก่ กินแคลเซียมไม่พอ ไม่ออกกำลังกาย ดื่มกาแฟเกินขนาด ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ขาดฮอร์โมน Estrogen ก่อนวัยหมดประจำเดือน เช่น ต้องผ่าตัดรังไข่ 2 ข้างออก
มีโครงร่างเล็ก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน และเคยมีประวัติกระดูกหักมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามควรวางแผนในการรับประทานแคลเซียมไปควบคู่กับการออกกำลังกาย และลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนจะดีที่สุด