4801 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำไม? สารสกัดจากทับทิมจึงช่วยชะลอวัย ทำให้ผิวขาวกระจ่างใส
เชื่อว่าภาพความทรงจำวัยเด็กของใครหลาย ๆ คน มักจะต้องเคยเห็นคนในครอบครัวสรรหาน้ำผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูง ๆ มาดื่มเป็นประจำ หรือเอาง่าย ๆ ไม่ว่าสื่อโทรทัศน์โฆษณาน้ำผลไม้ชนิดไหนต้องตามล่าหาสิ่งนั้นมาจงได้ แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่ได้ดื่มไปเหล่านั้นให้วิตามินสูงจริงหรือเปล่า แล้วส่งผลอย่างไรกับร่างกายของเราบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกคนกัน
ทับทิม ผลไม้สีแดงสด ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ แถมยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี และวิตามินซี ในปริมาณสูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อผิวพรรณเป็นอย่างมาก งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าเจ้าสารสกัดทับทิมนี้สามารถช่วยในด้านไหนได้บ้าง
ฤทธิ์ต่อการสร้างเม็ดสีเมลานิน
สารสกัดจากทับทิม มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง เม็ดสีเมลานิน ที่เป็นเม็ดสีผิวที่ทำให้ผิวคล้ำ มีการทดลองให้กรดแอลลาจิก ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ได้จากทับทิม กับหนูสายพันธุ์บราวน์กินี (brown guinea) ที่ได้รับแสงอัลตราไวโอเลต พบว่า สารดังกล่าวมีผลยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิวหนัง และน้ำมันจากเมล็ด และสารสกัดจากทับทิมยังมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้าง และยับยั้งการทำลายคอลลาเจน ซึ่งมีผลกับการสร้างเซลล์ผิวหนัง สารสกัดจากทับทิมยังสามารถยับยั้งการสร้างสารอนุมูลอิสระจากรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด เอ และบี
และยังพบอีกว่า สารสกัดทับทิมที่มีกรดแอลลาจิกจะช่วยยับยั้งไม่ให้ผิวคล้ำจากรังสีอัลตราไวโอเลตในหนูได้ และ ยังช่วยป้องกันการทำลายผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด เอ1 ได้ ทำให้สารสกัดทับทิมจึงเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณได้เป็นอย่างดี ช่วยชะลอไม่ให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร ทั้งยังสามารถป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด เอ และบีที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็งผิวหนังได้
ฤทธิ์ต่อการต้านอนุมูลอิสระ
สารสกัดจากทับทิม เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอลลาจิแทนนิน ฟลาโวนอยด์ และโพลีฟีนอล เป็นต้น สารสกัดจากทับทิมจะมีสารต้านอนุมูลอิสระออกมา เพื่อป้องกันอันตรายของมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
การศึกษาตรวจวิเคราะห์หาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากทับทิม พบว่า เปลือกทับทิมเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญจำนวนมาก ทั้งยังพบว่า มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าสารสกัดจากใบและเมล็ดทับทิม 2-3
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของน้ำผลไม้หลายชนิดในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า น้ำทับทิม มีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระสูงที่สุด4-6 สารต้านอนุมูลอิสระในทับทิมยังช่วยบำรุงตับได้ โดยจากการทดลองให้สารสกัดจากทับทิมในหนูทดลองก่อนที่จะให้สารพิษคาร์บอนเนตคลอไรด์ (CCl4 ) ซึ่งเป็นพิษต่อตับ พบว่า หนูที่ได้รับสารสกัดจากทับทิมสามารถป้องกันการเป็นพิษต่อตับได้อย่างมีนัยสำคัญ7
ดังนั้นสารสกัดจากทับทิมจึงมี ประโยชน์อย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ชะลอความเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกายได้
เอกสารอ้างอิง
1 .วัลวิภา เสืออุดม.ทับทิมผลไม้เพื่อสุขภาพ Healthy pomegranate fruit .มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยราชภัฎหมูบ้านจอมบึง.2559 [http://scijournal.hcu.ac.th/data]
2. Al-Zoreky NS. Antimicrobial activity of pomegranate (Punica granatum L.) fruit peels. Int J Food Microbiol 2009;134(3):244-8. 44. Colombo M, Moita C, van Niel G, Kowal J, Vigneron J, Benaroch P, et al. Analysis of ESCRT functions in exosome biogenesis, composition and secretion highlights the heterogeneity of extracellular vesicles. J Cell Sci 2013;126 (24):5553-65. [https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19632734/]
3. Braga LC, Shupp JW, Cummings C, Jett M,Takahashi JA, Carmo LS, et al. Pomegranate extract inhibits Staphylococcus aureus growth and subsequent enterotoxin production. J Ethnopharmacol 2005;96(1-2):335-9. [https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15588686/]
4. Guo C, Yang J, Wei J, Li Y, Xu J, Jiang Y. Antioxidant activities of peel, pulp, and seed fractions of common fruits as determined by FRAP assay. Nutr Res 2003;23(12):1719-26 [https://link.springer.com/article/10.1007/s10068-011-0003-z]
5. Kasai K, Yoshimura M, Koga T, Arii M, Kawasaki S. Effect of oral administration of ellagic acid-rich pomegranate extract of ultravioletinduct pigmentation in human skin. J Nutr Sci Vitaminol 2006;52(1):383. [https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17190110]
6. Tinrat S, Akkarachaneeyakorn S, Singhapol C. Evaluation of antioxidant and antimicrobial activities of Momordica cochinchinensis spreng (gac fruit) ethanolic extract. IJPSR 2014;5(8): 3163-9. [https://ijpsr.com/bft-article/evaluation-of-antioxidant-and-antimicrobial-activities-of-momordica-cochinchinensis-spreng-gac-fruit-ethanolic-extract/?view=fulltext]
7.Seeram NP, Adams LS, Henning SM, Niu Y, Zhang Y, Nair MG. In vitro antiproliferative, apoptotic and antioxidant activities of punicalagin, ellagic acid and a total pomegranate tannin extract are enhanced in combination with other polyphenols as found in pomegranate juice. J Nutr Biochem 2005;16(6):360
[https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15936648/]