สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

3592 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

ที่สุดแห่งสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าวิตามิน ซี 20 เท่า จากสารสกัดเมล็ดองุ่น

     องุ่นเป็นผลไม้ลูกกลม ๆ ที่ทุก ๆ บ้านต้องมียู่บนโต๊ะอาหาร แต่ภายใต้เนื้อหวานแสนอร่อยขององุ่นนั่นจะมีกี่คนที่รู้ว่า เจ้าเมล็ดอองุ่นที่ทุกคนทิ้งกันไปนั้นอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ ที่ช่วยเสริมสร้างความงาม และมีคุณประโยชน์กับร่างกายอย่างมาก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1970 นักชีวเคมีชาวฝรั่งเศสได้นำเอาเมล็ดองุ่นไปทำการสกัด และในที่สุดก็ได้พบสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากที่มีชื่อว่า “โอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (Oligomeric Proanthocyanidins) หรือ OPCs”

     OPCs มีคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง และละลายน้ำได้ดี จึงทำให้มีประสิทธิภาพมากในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ทั้งยังมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามิน ซี ถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามิน อี ถึง 50 เท่า1

ประโยชน์ของ OPCs จากสารสกัดเมล็ดองุ่น

     1. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ต้านอนุมูลอิสระได้ทุกรูปแบบและจำนวนมาก ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดภายใน 20-30 นาที จากนั้นจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 72 ชั่วโมง

      2. บำรุงผิวพรรณ ชะลอไม่ให้ผิวหนังแก่ก่อนวัย และลดแห้งกร้านของผิว ด้วยการเสริมสร้างคอลลาเจนให้เซลล์ชั้นใต้ผิวหนัง

     3. ช่วยลดริ้วรอย ฝ้า กระให้จางลง โดย OPCs จะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่มาทำลายคอลลาเจนอิลาสติน และการผลิตเม็ดสี ที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ และเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร

     4. จากคุณสมบัติยับยั้งเอนไซน์ที่ทำลายคอลลาเจนใต้ผิว ทำให้หลอดเลือดฝอยแข็งแรง จึงทำให้สามารถนำสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ผิวได้ดี

     สารสกัดจากเมล็ดองุ่น จึงเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่สามารถช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นได้ดี ดูสดใส มีน้ำมีนวล ทั้งยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ยับยั้งการถูกทำลายของคอลลาเจน ทั้งยังลดปัญหาสำหรับผู้ที่มีสีผิวไม่สม่ำเสมอกันอีกด้วย2-3

เอกสารอ้างอิง

     1. ชณิศา พานิช.ประสิทธิผลของการรับประทานโอพีซีสารสกัดจากเมล็ดองุ่นและวิตามินซีเปรียบเทียบกับวิตามินซีเพียงอย่าง เดียวในการลดริ้วรอยอาสาสมัครเพศหญิงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง [http://archive.mfu.ac.th/school/anti-aging/File_PDF/Research_PDF54/2.pdf]

     2. ธีรพงษ์ ขันทเจริญ , อรพิน เกิดชูชื่น , ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์.ประสิทธิภาพการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากสกัดเปลือกและเมล็ดขององุ่นพันธ์ คาร์ดินัล.วารสาร วิทยาศาสตร์เกษตร.ปีที่ 41 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ) กันยายน – ธันวาคม หน้า 617 – 619

     3. ปวีณ ปุณศรี.2504.องุ่น.พิมพ์ครั้งที่ 2.สโมสรพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้