6 สัญญาณเตือน “กรดไหลย้อน”
1. ท้องอืด แน่นท้อง จะมีอาการคล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาการนี้เกิดได้จากหูรูดของหลอดอาหารไม่สามารถปิดสนิทได้ เวลาที่ต้องมีการบีบตัวของหลอดอาหาร เพื่อที่จะไล่อาหารจากกระเพาะลงไปที่ลำไส้เล็ก ทำให้มีการท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหารทั้งบริเวณในช่องท้อง และช่องอก ทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง
2. เรอเปรี้ยว หรือมีน้ำรสเปรี้ยว ๆ หรือขมออกมาทางลำคอ มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ
3. กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บคอ เกิดจากกรดไหลย้อนไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว
4. เจ็บหน้าอก จุกเหมือนมีอะไรติดคอ เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหารที่อยู่ในช่องอก และกระตุ้นเส้นประสาทในหลอดอาหาร
5. แสบร้อนกลางอก เกิดจากความดันที่ช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้กรดและอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งอาการแสบร้อนกลางอกจะส่งผลให้หลอดอาหารนั้นเกิดการระคายเคืองได้
6. คลื่นไส้ อาเจียน เกิดจากการไหลท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหาร มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ
อย่างไรก็ตามสัญญาณเตือนทั้ง 6 ข้อนี้ เป็นเพียงระยะอาการของโรคกรดไหลย้อนในระยะต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น วิธีการดูแลเบื้องต้นคือ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะเขือเทศ พริกไทย หลีกเลี่ยงช็อกโกแลต อาหารมัน กาแฟ ชา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่น พยายามนั่งตัวตรง ๆ และลองหา สมุนไพรเพื่อเข้ามาช่วยฟื้นฟู บรรเทาอาการอย่าง ขมิ้นชัน ที่มีสารสำคัญ น้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminiods) สารสีเหลืองส้ม โดยมีการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ ขมิ้นชันในการบรรเทาอาการโรคในระบบทางเดินอาหารที่น่าใจหลายการศึกษา เช่น ฤทธิ์ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ การศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) พบว่า การรับประทานขมิ้นชันทั้งในรูปแบบของผงขมิ้นชัน ครั้งละ 500 มิลลิกรัม (มีเคอร์คูมินอยด์ 9.6% และน้ำมันหอมระเหย 8%) วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน หรือขมิ้นชันแคปซูล 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หรือสารสกัดขมิ้นชันวันละ 162 มิลลิกรัม นาน 28 วัน สามารถบรรเทาอาการของโรคอาหารไม่ย่อย ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ลดอาการคลื่นไส้ และไม่สบายท้อง โดยประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการได้รับยาขับลม และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร รานิทิดีน (ranitidine) 150 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยผ่านกลไกกระตุ้นการหลั่งเมือก หรือมิวซิน (mucin) มาเคลือบกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดและน้ำย่อยของกระเพาะ และต้านการอักเสบ โดยการศึกษาให้ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รับประทาน ขมิ้นชันแคปซูล 600 และ 1,000 มิลลิกรัม/วัน แบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน นาน 12 สัปดาห์ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาลดกรด และกลุ่มที่ได้รับ ขมิ้นชันที่แผลหายแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก และการรับประทานผงขมิ้นชันวันละ 1 กรัม หลังมื้ออาหารเช้าเย็น ร่วมกับการรับประทานยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) หรือยาเมซาลาซีน (mesalamine) ซึ่งใช้ใน การรักษาโรคลำไส้อักเสบ จะให้ผลการรักษาดีกว่าใช้ยาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว
แหล่งอ้างอิงโดย
1. บทความ : ขมิ้นชัน...ขุนพลผู้พิชิตโรคในระบบทางเดินอาหาร, กนกพร อะทะวงษา, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
2. บทความ : ดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะกรดไหลย้อน, อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)
!!น้ำมันมะพร้าว คุณค่ามหัศจรรย์จากธรรมชาติ!!
น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) เป็นหนึ่งในสารสกัดที่ได้รับการยอมรับ และถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังมีการนำมาใช้ในการรักษาโรค อย่าง การรักษาแผลไหม้ ท้องผูก ลำไส้อักเสบ ฆ่าเชื้อในช่องปาก เป็นต้น น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดส่วนของเนื้อมะพร้าว โดยแยกเอาเฉพาะส่วนของน้ำมันออกมา โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. น้ำมันมะพร้าว (Refined Bleaching Deodorizing Coconut Oil: RBD) เป็นน้ำมันที่ได้จากเนื้อมะพร้าวห้าวหรือเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) ด้วยกรรมวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยผ่านความร้อนสูง 3 กระบวนการ ได้แก่ การทำให้บริสุทธิ์ (Refining) การฟอกสี (Bleaching) และการกำจัดกลิ่น (Deodorization) ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวที่มีสีเหลืองอ่อน ปราศจากกลิ่น รส และมีกรดไขมันอิสระไม่เกินร้อยละ 0.1 แต่วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวจะถูกกำจัดออกไป
2. น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ หรือ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Virgin Coconut Oil: VCO) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในตอนนี้ โดยมีกรรมวิธีการสกัดโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี มีสีใสเหมือนน้ำ มีวิตามินอี ไม่ผ่านกระบวนการเติมออกซิเจน มีค่าเบอร์ออกไซด์ กรดไขมันต่ำ และมีกลิ่นมะพร้าวอ่อน ๆ
น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวเป็นองค์ประกอบหลัก (มากกว่า 90%จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวที่ได้จากน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลสายขนาดปานกลาง (Medium chain fatty acid) ที่มีมากถึง 63% เช่น กรดลอริก (Lauric acid) ซึ่งเมื่อรับประทานและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกเผาผลาญได้ดี สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) และกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว (Long chain fatty acid) 30% ที่เหลือเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาว 7% ซึ่งเป็นกลุ่มกรดไขมันจำเป็นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากกลุ่ม Long chain fatty acids ที่พบใน นม เนย ชีส และไขมันจากสัตว์ทุกชนิด ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งควรจะหลีกเลี่ยง
และด้วยโครงสร้างที่แตกต่างของกรดไขมันจากน้ำมันมะพร้าว จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก ทำให้เมื่อเรารับประทานน้ำมันมะพร้าว ร่างกายจะดูดซึมได้ทันที และจะส่งผ่านไปที่ตับ จากนั้นตับจำทำการเปลี่ยนกรดไขมันเหล่านี้เป็นสารคีโตน ซึ่งสารคีโตนนี้เป็นสารที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสมอง ทำให้ช่วยฟื้นฟูความจำ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งกรดไขมันจากน้ำมันมะพร้าวจะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น จึงมีผลให้ระบบเผาผลาญไขมันโดยเฉพาะไขมันช่องท้องทำงานได้ดีมากขึ้น จึงช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน รวมถึงป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ผลพลอยได้จากอัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้น ไขมันและน้ำตาลที่สะสมในร่างกายถูกนำไปเผาผลาญเป็นพลังงาน ทำให้ช่วยลดระดับน้ำตาล และลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ อีกทั้งน้ำมันมะพร้าวยังช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น บำรุงผม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การรับประทาน "น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น" ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีการบรรจุจัดเก็บที่ดี เพื่อคงคุณภาพของสารสกัด และลดการปนเปื้อนก่อนที่เราจะรับประทานเข้าสู่ร่างกาย และการรับประทานน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก แนะนำให้ทานควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารให้เหมาะสมในแต่ละวัน และออกกำกายอย่างสม่ำเสมอ
ร่างกายของเราในช่วงอายุ 30-35 ปี กระดูกจะถูกสร้างและสะสมสูงสุด แต่หลังจากนั้นอัตราของการสลายตัวจะมีมากกว่าการสร้าง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องทานแคลเซียมตั้งแต่อายุน้อย ดังนั้นช่วงอายุก่อนที่จะก้าวเข้าอายุ 30-35 ปี จึงเป็นเวลาที่ดี ที่เราจะทานอาหารที่อุดไปด้วยแคลเซียม เพื่อสะสมมวลกระดูก และชะลอการสลายของกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน หรือความเสี่ยงโรคร้านต่าง ๆ หลังอายุ 35 ปี
จากการศึกษาของ The American College of Nutrition พบว่า แคลเซียม ไม่เพียงแค่ป้องกันโรคทางกระดูกให้กับเราเท่านั้น แต่สามารถช่วยป้องกัน และบรรเทาอาการจากโรคต่าง ๆ อย่าง สามารถลดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome) เช่น อาการปวดหัว หงุดหงิดง่าย อยากอาหารท้องอืด ไม่สบายท้องได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ
อายุ < 40 ปี 800 mg / วัน
อายุ 50 ปี 1000 mg / วัน
ผู้หญิงตั้งครรภ์ และอายุ > 60ปี 1200 mg / วัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขาดแคลเซียม ได้แก่ กินแคลเซียมไม่พอ ไม่ออกกำลังกาย ดื่มกาแฟเกินขนาด ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ขาดฮอร์โมน Estrogen ก่อนวัยหมดประจำเดือน เช่น ต้องผ่าตัดรังไข่ 2 ข้างออก
มีโครงร่างเล็ก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน และเคยมีประวัติกระดูกหักมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามควรวางแผนในการรับประทานแคลเซียมไปควบคู่กับการออกกำลังกาย และลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนจะดีที่สุด