Ginkgo Biloba

3305 Views  | 

Ginkgo Biloba

เคล็ดลับเพิ่มพลังสมอง

     จากภาวะทางสังคมที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ปัจจัยมากมายรอบตัวที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต จึงส่งผลให้เกิดความเครียด แต่เมื่อชีวิตเรายังคงต้องดำเนินต่อไปในทุก ๆ วัน ทำให้เกิดเป็นความเครียดสะสมขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลให้ “สมองล้า” (Brain fog syndrome) การทำงานของสมองในส่วนของความจำก็จะทำงานลดลง เริ่มมีอาการ เบลอ ๆ รู้สึกไม่สดชื่น มึนหัว พอหนักขึ้นก็เริ่ม นอนไม่หลับ ปวดหัวบ่อยขึ้นและเรื้อรัง สายตาพร่ามัว ความจำระยะสั้นแย่ลง ขี้หลงขี้ลืม และหงุดหงิดง่ายขึ้น หากยังปล่อยไว้ไม่ได้รักษาก็จะเสี่ยงที่จะเกิดโรคความจำเสื่อมก่อนวัย โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสันได้

     อาการ “สมองล้า” เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นกับสมอง มีผลมาจากความเครียดที่สะสมจากการใช้งานสมองอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอย่าง การพักผ่อนน้อย การนอนดึก การทำงานโต้รุ่ง การเร่งทำงานให้เสร็จทันเวลา หรือแม้กระทั่งการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งกระตุ้นให้สารเคมีในสมอง หรือที่เรียกว่าสารสื่อประสาท ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาททำงานลดลงและเสียสมดุล สมองจึงทำงานได้น้อยลงและเกิดเป็นอาการต่างตามที่กล่าวข้างต้น วันนี้เราจึงมาแนะนำตัวช่วยดี ๆ จากธรรมชาติ ที่ปลอดภัยกับร่างกายมาเป็นตัวเสริม และเพิ่มพลังสมองอย่าง “แปะก๊วย” มาฝาก

     “แปะก๊วย” (Ginkgo biloba L.) หรือ “สารสกัดจากใบแปะก๊วย” พืชใบสีเขียวที่มีสรรพคุณมากมายหลายด้าน มีสารสำคัญหลักอย่าง สารเทอร์พีนอยด์ (Terpinoidal compounds) ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (Bilobalide) ไดเทอร์ปีนแลคโตน 5 ชนิด ที่รวมตัวกันเรียก กิงโกไลต์ (Ginkgolides) และสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) จึงทำให้สารสกัดจากใบแปะก๊วย มีคุณสมบัติสำคัญมากมายที่ไม่ใช่แค่เพียงเพิ่มพลังและบำรุงสมอง แต่ยังสามารถช่วยฟื้นฟูระบบภายในของร่างกายให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนได้รับการยอมรับและในบางประเทศมีการประกาศให้แปะก๊วยเป็นตัวยาที่แพทย์แผนปัจจุบันมีการสั่งจ่ายในการรักษา อีกทั้งยังมีศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบแปะก๊วยถึงผลในการรักษามากมาย อย่าง

     - ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity) ที่มีการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบแปะก๊วย พบว่า สามารถช่วยลดปริมาณการผลิตอนุมูลอิสระ ป้องกัน LDL จากภาวะเครียด ป้องกันเม็ดเลือดแดงจาก EGB-761 สารที่ทำลายเซลล์ประสาท และยังป้องกันจอตา (Retina) จากความเสื่อมของเซลล์ประสาท

     - ฤทธิ์การไหลเวียนของโลหิตไปยังสมอง (Cerebral blood flow increase) จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ได้รับสารสกัดใบแปะก๊วยขนาด 120-300 มิลลิกรัม/คน/วัน เป็นเวลา 4-12 สัปดาห์ มีผลเพิ่มปริมาณโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากโลหิตไปเลี้ยงสองไม่เพียงพอดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ และหลังจากรับประทานต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ อาการดีขึ้นชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และจากการศึกษากับกลุ่มผู้ป่วยโลหิตไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จำนวน 90 คน โดยให้รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยขนาด 150 มิลลิกรัม/วัน  เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ผู้ป่วยมีความจำดีขึ้น ระยะเวลาของความตั้งใจใจการทำงานเพิ่มขึ้น ความสามารถในการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องใช้การปรับตัว และการตัดสินใจที่รวดเร็วดีขึ้น

     - ฤทธิ์ที่ช่วยให้ความจำดีขึ้น (Memory enhancement effect) โดยการศึกษาฤทธิ์ที่ช่วยให้ความจำดีขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ 18 คน ที่มีภาวะความจำเสื่อมจากความชรา พบว่า เมื่อผู้ป่วยรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยขนาด 320 มิลลิกรัม/คน สามารถช่วยให้ความจำของผู้ป่วยดีขึ้น

     นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต การศึกษาฤทธิ์ในการเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการศึกษาฤทธิ์เพิ่มการมองเห็น ฯลฯ มีผลไปในทิศทางเดียวกัน คือมีผลดีขึ้นเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งสารสกัดจากใบแปะก๊วยยังมีสารสำคัญอย่าง เอเชียติโคไซค์ (Asiaticoside) เอเชียติคแอซิค (Aisatic Acid) และบลามิโนไซด์ (Brahimnoside) ที่ช่วยเข้าไปยับยั้งการสร้างสารที่ทำลายเซลล์สมอง ลดความเครียดของสมองจากการทำงานหนัก และช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของกำลังสมองอีกด้วย

     การดูแลรักษาฟื้นฟูสมองด้วยการปรับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจยังไม่เพียงพอต่อการรักษาฟื้นฟู เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ ภายนอกไม่ว่าจะเป็น คลื่นแม่เหล็กจาก คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ที่เข้าไปรบกวนสารสื่อประสาท ความเครียดที่เกิดโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว การนอนดึก การนอนไม่เพียงพอ การที่ขาดการออกกำลังกาย ที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง การที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และการที่ร่างกายได้รับสารพิษจากมลภวะ สารเคมีจากอาหาร หรือสิ่งปนเปื้อนที่ปนมากับอากาศ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบที่มีผลต่อสมองที่ยากจะหลีกเลี่ยง ได้การเพิ่มตัวช่วยเข้ามาช่วยเพิ่มพลังสมองจึงสำคัญอย่างมากเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

แหล่งอ้างอิงโดย

     1. บทความวิชาการ, “แปะก๊วย” สมุนไพรรักษาความจำเสื่อม, พิชานันท์ ลีแก้ว, ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

     2. บทความสุขภาพน่ารู้, แปะก๊วยช่วยยับยั้งความเสื่อมของสมองและต้านอนุมูลอิสระ, ภก.สุดเหมือนฝัน ธนธัญญา, นิตรยาสารหมอชาวบ้าน เล่ม304

     3. รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3, บทที่ 56 รายละเอียดข้อมูลยาทางชีวภาพแปะก๊วย (Ginkgo), โครงการเพิ่มศักยภาพฐานข้อมูลอุตสาหกรรมยาทางชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

     4. บทความผลงานทางวิชาการ, Ginkgo Biloba, ภก.พีรวัฒน์ จินาทองไทย, ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ, คณะเภสัชศาสตร์, ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy