6 สัญญาณเตือน “กรดไหลย้อน”

2098 Views  | 

6 สัญญาณเตือน “กรดไหลย้อน”

6 สัญญาณเตือน “กรดไหลย้อน”

1.     ท้องอืด แน่นท้อง  จะมีอาการคล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาการนี้เกิดได้จากหูรูดของหลอดอาหารไม่สามารถปิดสนิทได้ เวลาที่ต้องมีการบีบตัวของหลอดอาหาร เพื่อที่จะไล่อาหารจากกระเพาะลงไปที่ลำไส้เล็ก ทำให้มีการท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหารทั้งบริเวณในช่องท้อง และช่องอก ทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง
2.     เรอเปรี้ยว หรือมีน้ำรสเปรี้ยว ๆ หรือขมออกมาทางลำคอ  มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ
3.     กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บคอ  เกิดจากกรดไหลย้อนไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว
4.     เจ็บหน้าอก จุกเหมือนมีอะไรติดคอ  เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหารที่อยู่ในช่องอก และกระตุ้นเส้นประสาทในหลอดอาหาร
5.     แสบร้อนกลางอก  เกิดจากความดันที่ช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้กรดและอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งอาการแสบร้อนกลางอกจะส่งผลให้หลอดอาหารนั้นเกิดการระคายเคืองได้
6.     คลื่นไส้ อาเจียน เกิดจากการไหลท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหาร มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ

       อย่างไรก็ตามสัญญาณเตือนทั้ง 6 ข้อนี้ เป็นเพียงระยะอาการของโรคกรดไหลย้อนในระยะต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น วิธีการดูแลเบื้องต้นคือ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะเขือเทศ พริกไทย หลีกเลี่ยงช็อกโกแลต อาหารมัน กาแฟ ชา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่น พยายามนั่งตัวตรง ๆ และลองหา สมุนไพรเพื่อเข้ามาช่วยฟื้นฟู บรรเทาอาการอย่าง ขมิ้นชัน ที่มีสารสำคัญ น้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminiods) สารสีเหลืองส้ม

       โดยมีการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ ขมิ้นชันในการบรรเทาอาการโรคในระบบทางเดินอาหารที่น่าใจหลายการศึกษา เช่น ฤทธิ์ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ การศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) พบว่า การรับประทานขมิ้นชันทั้งในรูปแบบของผงขมิ้นชัน ครั้งละ 500 มิลลิกรัม (มีเคอร์คูมินอยด์ 9.6% และน้ำมันหอมระเหย 8%) วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน หรือขมิ้นชันแคปซูล 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หรือสารสกัดขมิ้นชันวันละ 162 มิลลิกรัม นาน 28 วัน สามารถบรรเทาอาการของโรคอาหารไม่ย่อย ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ลดอาการคลื่นไส้ และไม่สบายท้อง โดยประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการได้รับยาขับลม และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร รานิทิดีน (ranitidine) 150 มิลลิกรัม

        นอกจากนี้ ขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยผ่านกลไกกระตุ้นการหลั่งเมือก หรือมิวซิน (mucin) มาเคลือบกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดและน้ำย่อยของกระเพาะ และต้านการอักเสบ โดยการศึกษาให้ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รับประทาน ขมิ้นชันแคปซูล 600 และ 1,000 มิลลิกรัม/วัน แบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน นาน 12 สัปดาห์ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาลดกรด และกลุ่มที่ได้รับ

        ขมิ้นชันที่แผลหายแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก และการรับประทานผงขมิ้นชันวันละ 1 กรัม หลังมื้ออาหารเช้าเย็น ร่วมกับการรับประทานยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) หรือยาเมซาลาซีน (mesalamine) ซึ่งใช้ใน การรักษาโรคลำไส้อักเสบ จะให้ผลการรักษาดีกว่าใช้ยาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว

 
แหล่งอ้างอิงโดย
1.       บทความ : ขมิ้นชัน...ขุนพลผู้พิชิตโรคในระบบทางเดินอาหาร, กนกพร อะทะวงษา, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
2.       บทความ : ดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะกรดไหลย้อน, อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)     

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy